เทคโนโลยี 5G เรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด เรียกได้ว่าตอนนี้เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนในทุกๆ ภาคส่วน ล้วนได้รับอิทธิพลจากยุค 4G กับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ รอบตัวเรามากกมาย
ล่าสุดข่าวคราวของยุคการติดต่อสื่อสารไร้สาย ไร้พรมแดน หรือ 5G ก็เกิดขึ้นจริงแล้ว และกำลังปรับใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกภาคส่วนธุรกิจทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเองก็ได้เริ่มเปิดให้บริการจากหลายเครือข่ายแล้ว ด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องรู้จักกับ 5G ให้มากขึ้นกว่าเดิมกันดีกว่า

5G มันคือ Generation 5 หรือรุ่นที่ 5 ของการสื่อสารที่อนาคตมันจะไม่ใช่แค่มือถือแล้วแต่เป็นอุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมอินเตอร์เน็ตได้ (Internet of Things หรือ IoT) ว่ากันว่าถ้าเรามี 5G เราจะดาวน์โหลดวีดีโอ หนังหรือแอปฯได้เร็วถึง 10,000 Mbps! ถ้าใช้ 4G ดูวิดีโอออนไลน์ (ขนาด 8K) หรือดาวน์โหลดหนังต้องรอ 6 นาที
แต่ถ้ามี 5G ใช้เวลาแค่ 6 วินาที เท่านั้นไม่พอ ถ้ามี 5G เราจะเชื่อมต่อไปปลายทางได้เร็วกว่า 0.001 วินาที (คือเร็วมาก) รับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเพิ่มเป็น 1,000 เท่า ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อยลง 90% ทำให้แบตจะยืดอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี ซึ่ง 5G นั้นมีเป้าหมายพัฒนาเพื่อตอบโจทย์โลกหมุนเปลี่ยนไป รวมถึงการมาของ Internet of Things อย่างเช่น Smart Home, Smart Infrastructure, Smart City, Smart Car เป็นต้น
ตามคอนเซ็ปต์ “Anything that can be connected, will be connected.” หรืออะไรที่สามารถเชื่อมต่อได้ก็จะถูกเชื่อมต่อด้วยระบบอินเทอร์เน็ต แต่เพื่อให้มีประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด และอะไรที่ต้องการแสดงผลเรียลไทม์จึงจำเป็นต้องมีความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลเช่น การศึกษา, การขนส่ง, การแพทย์ เป็นต้น
ประโยชน์ของ 5G มีดีอย่างไร แน่นอนว่าต้องมีความเร็วเพิ่มขึ้น เพื่อตรงกับคอนเซ็ปต์ในการใช้งาน แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะมีอัตราดาวน์โหลดและอัพโหลดแรงเท่าใด ทว่ามีแต่การคาดการณ์กันว่าเร็วแรงมากกว่ายุค 4G ถึง 10 – 100 เท่า ซึ่งจะทำให้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราได้หลายอย่างในอนาคต และช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ทั้งส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์หรือบริบทใหม่ของการบริการเช่นกัน

ส่วนข้อด้อยของ 5G ที่ทำให้ไม่น่าคบหานั้น เนื่องจากต้องใช้คลื่นความถี่ที่สูงมากหรือคลื่นเทคโนโลยีความถี่ระดับมิลลิเมตร โดยถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนา สามารถดำเนินการได้ด้วยข้อมูลจำนวนมาก และมีสัญญาณการถ่ายโอนข้อมูลที่มีค่า latency ต่ำ (ความล่าช้าน้อยที่สุด)
และด้วยประโยชน์ดังกล่าว จึงต้องแลกมาด้วยปัญหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพราะว่าสัญญาณที่ส่งผ่านคลื่นความถี่สูงจะส่งผ่านในระยะสั้นเท่านั้น และก็ไม่สามารถเจาะอาคารได้ดี ทำให้ต้องอาศัยเสาสัญญาณกับเทคนิคอื่นๆ เข้าช่วย ดังนั้นจึงน่าสนใจว่าค่าใช้บริการจะเป็นอย่างไร
มีปัจจัยสองอย่างที่เกี่ยวข้อง คือ โมเด็มรับสัญญาณอาจไม่รองรับการรับคลื่นความเร็วสูง ถึงรองรับแต่ก็ไม่เต็มประสิทธิภาพ เพราะไม่ได้ถูกพัฒนามาเพื่อการใช้งาน 5G โดยเฉพาะ นั่นหมายความว่าถ้าคุณต้องการใช้งาน 5G จำเป็นต้องซื้อสมาร์ทโฟนที่รองรับการใช้งานมาตั้งแต่ต้น ดังนั้น “สำหรับสมาร์ทโฟน 4G จะไม่สามารถใช้งาน 5G ได้” แล้วสำหรับ 5G นั้นดีกว่า 4G ยังไงบ้างหล่ะ?
- ตอบสนองไวขึ้น สามารถสั่งงาน และควบคุมสิ่งต่างๆ ได้เร็วขึ้น ตอบสนองได้ไว 1 ส่วนพันวินาที
- รับ-ส่งข้อมูลได้มากกว่า ถ้าเป็น 4G จะสามารถ รับ-ส่ง ข้อมูลได้ราว 7.2 Exabytes ต่อเดือน แต่สำหรับ 5G จะเพิ่มขึ้นราว 7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
- เร็วขึ้นกว่าเดิม 5G มีความเร็วมากกว่า 20 เท่า สามารถดาวน์โหลดดูวิดีโอ 8K หรือ ดาวน์โหลดภาพยนตร์ 3 มิติ ได้ในภาย 6 วินาที
- ความถี่มากกว่า 5G สามารถใช้งานคลื่นความถี่ได้จนถึง 30GHz ซึ่งเป็นความถี่ย่านใหม่ที่ไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน
- รองรับการใช้งานมากกว่า รองรับจำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

คลื่น 5G ที่ทั่วโลกใช้อยู่คือ คลื่นกำลังต่ำ ไม่ได้มีผลต่อร่างกายของเราอย่างใด ไม่ว่าจะเป็นสมอง, ประสาท, รังสี เป็นต้น ซึ่งทุกวันนี้คือคลื่นกำลังต่ำ ทว่าในอนาคตต้องติดตามกันว่าถ้าเป็นคลื่นกำลังสูงที่ใครหลายคนคาดว่าจะใช้งานนั้นจะมีมาตรการอย่างไร ป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ณ ตอนนี้ยังไม่มีผลกระทบใดๆ ในแง่ของสุขภาพทางกายภาพและอวัยวะภายใน
อย่างไรก็ตามเทรนด์ของปี 2020 การสตรีมมิ่งมาแรงอย่างมาก ดูหนัง ฟังเพลง ยูทูป ฯลฯ โดยเฉพาะคอนเทนต์วิดีโอที่มีความหลากหลายยิ่งขึ้น ทั้ง NetFlix, Disney+, AMAZON Prime Video, Apple TV+ รวมฝั่งเพลงที่มีการพัฒนาคลื่นความถี่ย่านสูงและความถี่ย่านต่ำ เพื่อให้ผู้ใช้ได้อรรถรสที่ดีกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่าต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อความต่อเนื่อง นอกจากนี้เทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร 5G เป็นเรื่องมากกว่าใช้งานแค่เพียงอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง แต่เป็นเรื่องของการใช้งานระดับมหภาค สำหรับประเทศจีนต้องบอกว่าก้าวหน้าอย่างมากกับโครงข่าย 5G เพราะมีการนำไปใช้งานจริงในหลายภาพส่วน เหมือนกับโรงพยาบาลมณฑลเจียงซู ทางตะวันออกของจีน ได้ถ่ายทอดสัญญาณผ่าตัดทางไกลแบบเรียลไทม์
สำหรับการผ่าตัดทีมศัลยแพทย์ผ่าตัดปอดบางส่วนของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ระหว่างการผ่าตัดได้มีการขอคำแนะนำจากทีมแพทย์อื่นอีกหนึ่งโรงพยาบาล พร้อมใช้เทคโนโลยี VR ที่สามารถเห็นภาพเสมือนจริงอย่างชัดเจน ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างถูกต้อง โดยใช้เครือข่ายเชื่อมต่อระดับ 5G ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพเสียงคมชัดไร้การหน่วงเป็นแบบเรียลไทม์ การผ่าตัดจบได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วเพียงสองชั่วโมงเท่านั้น
เทคโนโลยี 5G เรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด สำหรับประเทศคงต้องรอการพัฒนาอย่างเต็มพิกัด เพื่อการใช้งานที่เสถียรพอให้ใช้งาน และอัตราค่าบริการที่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะจ่ายถูกหรือแพงกว่าปกติ มาลุ้นกันว่า 5G ในประเทศไทยนั้นจะปังแค่ไหน
ถ้าคุณอยากที่จะลดน้ำหนักแต่เบื่อกิจกรรมลดน้ำหนักแบบเดิมๆ : ปีนเขา